Monthly Archives: มีนาคม 2021

พ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากฉบับเก่า?

ในข้อกำหนดกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากฉบับเก่า?
จากที่เดิมที พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับเก่าก็คือ พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขจนมีฉบับใหม่ล่าสุด คือ พ.ร.บ.อาคารชุด(ฉบับที่ 4) มีผลบังคับใช้เมื่อ 4 ก.ค.2551 ด้วยเหตุผลที่ว่า พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ได้ใช้มานานมากแล้ว ทำให้ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง และไม่สามารถคุ้มครองผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ จึงได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติ และมีข้อกำหนดบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพอมาถึงปี 2560 นี้ก็นับว่าล่วงเลยมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ ที่ยังไม่รู้และที่ยังขาดความเข้าใจก็ยังคงมีอยู่มากเช่นกัน มาดูว่าในข้อกำหนด พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

สรุปที่เป็นสาระสำคัญบางประการของพระราชบัญญัติ อาคารชุด(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

1. การเพิ่มบทนิยาม
1.1 “การประชุมใหญ่” หมายความว่า การประชุมใหญ่สามัญหรือการประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมแล้วแต่กรณี

1.2 “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

1.3 “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
1.4 “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด

2. การจดทะเบียนอาคารชุด
ในทางกฎหมายพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ได้ระบุให้มีหลักฐานและรายละเอียดเพิ่มเติมในการยื่นเอกสารการจดทะเบียนอาคารชุด ดังนี้

2.1 แผนผังอาคารชุด โดยขอให้ระบุรวมถึงเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย เพราะป้องกันปัญหาจากที่เคยมีอาคารชุดหรือคอนโดในหลายๆ โครงการที่มีการเอาที่ดินของผู้อื่นมาทำเป็นทางเข้าออก ดังนั้นต้องรวมในแผนผังด้วย

2.2 กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทั้งที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ จำนวนพื้นที่ และลักษณะการใช้ประโยชน์ เป็นต้น

2.3 การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุด กำหนดให้เอกสาร ข้อมูลหรือภาพใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการโฆษณาขายห้องชุด ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วยและให้เก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง เพราะหลังจากคอนโดก่อสร้างแล้วเสร็จมักจะไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ จึงให้ตีความไปในทางที่เป็นประโยชน์กับทางผู้ซื้อเป็นหลัก

2.4 การทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายห้องชุด ระหว่างทางโครงการกับผู้ซื้อห้องชุดนั้น ต้องทำตามแบบสัญญามาตรฐาน แต่ถ้าในสัญญาไม่เป็นไปทำตามแบบสัญญาและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อ สัญญาส่วนนั้นถือเป็นโมฆะ

3. เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ห้องชุด
จากพ.ร.บ.เก่าปี 2522 กรรมสิทธิ์ในส่วนของเนื้อที่ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วม ได้ระบุว่าเป็นไปตามอัตราส่วนของราคาห้องชุด ซึ่งแลดูจะมีปัญหาเพราะราคามีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นั้นให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างเนื้อที่ของห้องชุดตามที่ขอจดทะเบียนไว้ ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ หรือระบบต่างๆ ในอาคารว่าส่วนไหนใช่หรือไม่ใช่พื้นที่ส่วนกลางนั้น จึงได้กำหนดไว้ คือ

3.1 การตั้งสำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุด ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนกลางและจะต้องอยู่ภายในอาคารชุดเท่านั้น

3.2 สิ่งก่อสร้างหรืองานระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น การจัดแสงสว่าง การปรับอากาศ การระบายน้ำ หรือการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล เป็นต้น

3.3 กรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้า ต้องจัดระบบการเข้าออกในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะไม่ให้รบกวนเจ้าของร่วม

3.4 เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย ทั้งค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากสิ่งของที่ใช้ประโยชน์เป็นส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษา ซ่อมแซม ร่วมกันจ่ายตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์

3.5 กรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชําระเงินภายในเวลาที่กําหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกิน 12% ต่อปี หากค้างชำระเกิน 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มในอัตราไม่เกิน 20% ต่อปี และอาจถูกตัดสิทธิ์จากการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ด้วย

3.6 บุคคลต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมด และในอนาคตแม้จะมีเจ้าของห้องชุดที่มีการเปลี่ยนสัญชาติหรือจากผู้ที่ได้รับโอนในฐานะที่เป็นทายาทมรดกเป็นคนต่างด้าว แต่การมีกรรมสิทธิ์นั้นยังเกิน 49% ต้องจำหน่ายในส่วนที่เกินนั้นภายใน 1 ปี นับจากวันที่เสียสัญชาติไทย

4. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุด
สำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากนิติบุคคลอาคารชุด โดยทางผู้จัดการต้องออกให้เจ้าของร่วมภายใน 15 วัน ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่ได้มีการกำหนดเวลา ทำให้เจ้าของร่วมไม่สะดวกและก่อให้เกิดความล่าช้า

4.1 เกี่ยวกับข้อบังคับอาคารชุด สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนอาคารชุดไว้ได้ แต่ต้องเป็นไปโดยมติของที่ประชุมใหญ่ ต้องนําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน

4.2 กำหนดคุณสมบัติกรรมการนิติอาคารชุด การเพิ่มเติมในส่วนนี้เนื่องจากในทางปฏิบัติ เจ้าของโครงการมักส่งตัวแทนของตนเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด แล้วอาศัยช่องทางนี้เอาเปรียบลูกบ้าน เช่น ทำให้เจ้าของอาคารชุดไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางสำหรับห้องชุดที่ยังขายไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งนอกจากกำหนดคุณสมบัติแล้ว ยังกำหนดของการพ้นตำแหน่ง และระบุอำนาจหน้าที่เพิ่มในเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและให้มีการติดประกาศเพื่อทราบ และต้องฟ้องบังคับชําระหนี้จากเจ้าของร่วมที่ค้างชําระค่าใช้จ่าย เกิน 6 เดือนขึ้นไปด้วย

5. กำหนดให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดให้ชัดเจนขึ้น
ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 2 ปี และจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับจากวันประชุมใหญ่ ซึ่งเหตุผลในการกำหนดและเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของผู้จัดการอาคารชุดขึ้นมานั้น สืบเนื่องจากในทางปฏิบัติ เจ้าของโครงการมักส่งตัวแทนของตนเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดแล้วใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบผู้พักอาศัยนั่นเอง

6. กำหนดคุณสมบัติ และคุณลักษณะของกรรมการนิติบุคคล
6.1 ต้องเป็นเจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นตัวแทนของนิติบุคคลจำนวนหนึ่งคน ในกรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม

6.2 กรรมการพ้นจากตําแหน่งเมื่อตาย ลาออก เป็นบุคคลมีลักษณะต้องห้ามที่ประชุมใหญ่มีมติให้พ้นจากตําแหน่ง

6.3 ในการประชุมให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม หรือในกรณีที่กรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร้องขอให้เรียกประชุม และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานมีสิทธิ์เพิ่มอีกเสียงเพื่อชี้ขาด

7. เกี่ยวกับคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
7.1 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุล อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกรอบ 12 เดือน ต้องมีรายการแสดงจํานวนสินทรัพย์และหนี้สิน บัญชีรายรับรายจ่าย และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนําเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่

7.2 ต้องจัดทํารายงานประจําปีแสดงผลการดําเนินงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล และส่งสําเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วม ก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

7.3 เก็บรักษารายงานประจําปีแสดงผลการดําเนินงานและงบดุล พร้อมทั้งข้อบังคับไว้ที่สํานักงานของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้

8. เกี่ยวกับการจัดให้มีการประชุมใหญ่
การเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ก็เพื่อลดช่องว่างในการที่ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะเข้าดำเนินกิจการต่างๆ โดยพลการ และจากเดิมการประชุมต้องเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนเสียง ทำให้จัดการประชุมได้ยาก จึงได้กำหนดการประชุมดังนี้

8.1 การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก – ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับและผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้

8.2 การประชุมใหญ่สามัญ – จัดให้มีปีละ 1 ครั้งภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล รายงานประจําปี แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และพิจารณาเรื่องอื่นๆ ซึ่งการเรียกประชุมใหญ่ต้องทำหนังสือนัด อย่างน้อย 7 วันก่อนประชุม และในการประชุมต้องมีการลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

8.3 ประชุมใหญ่วิสามัญ – ในกรณีมีเหตุจําเป็นผู้ที่มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ คือ ผู้จัดการ, คณะกรรมการโดยมติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุม หรือเจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 20% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อ

9. บทบัญญัติเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

9.1 มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคําชี้แจงข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งหลักฐานใดเพื่อประกอบการพิจารณาหรือตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

9.2 เข้าไปในที่ดินและอาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด หรือสถานที่ที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด เพื่อ ตรวจดูเอกสารหรือหลักฐาน ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาหรือตรวจสอบการปฏิบัติการ

9.3 อายัดเอกสาร บัญชี ทะเบียน หรือหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและดําเนินคดี

10. เกี่ยวกับบทกำหนดโทษ
ได้มีการเพิ่มบทบัญญัติถึงการกำหนดโทษ กรณีที่มีผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีการระวางโทษและปรับเงินในอัตราต่างๆ ตั้งแต่มาตรา 63 ถึงมาตรา 73 ตามพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่ 2551 นี้ เช่น หากสัญญาซื้อขายไม่ได้ตามแบบมาตรฐานจะปรับในอัตราไม่เกินหนึ่งแสนบาท เป็นต้น

ประโยชน์จาก พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่
มาในปัจจุบันจากที่ได้ทราบกันอยู่บ้างว่า กฎหมาย พ.ร.บ. อาคารชุดฉบับใหม่ นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายคอนโดใหม่คุ้มครองผู้บริโภคหรือลูกบ้านเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในมุมของดีเวลลอปเปอร์จะมีข้อแย้งบางจุดในข้อกำหนด โดยอ้างว่ามีการเร่งผลักดันกฎหมายคอนโดออกมาใช้ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จนมีการทักท้วงว่าเป็นข้อผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหาและเห็นว่าไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติจริง ซึ่งความจริงแล้วกฎหมายคอนโดฉบับใหม่ได้ปรับปรุงมาเพื่อให้เหมาะกับการปฏิบัติจริงอยู่แล้วและยังเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ลูกบ้านด้วย ฉะนั้นในส่วนของเจ้าของโครงการก็ต้องเคารพกฎกติกา นิติบุคคลอาคารชุดต้องดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายคอนโดดังกล่าวด้วย และเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ลูกบ้านก็ควรพัฒนาหาความรู้ให้เท่าทัน จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาให้หนักใจในภายหลัง

ข้อมูลจาก https://www.estopolis.com/article/knowledge/law
“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”
เลือก IRMNEXT
——————————————
รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ
Call center : 022041077/086-331-2054
Website : www.irm.co.th
ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7
#IRMNEXT
#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่ 

11คุณ และคนอื่นๆ อีก 10 คนแชร์ 3 ครั้งถูกใจแสดงความคิดเห็นแชร์

5 ข้อป้องกัน ไวรัสโควิด สำหรับคนอยู่คอนโด

สถานการณ์ Covid-19 ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะระบาดในวงกว้างมากขึ้น เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้โดยเร็ว ผู้คนเริ่มหันมาดูแลตัวเอง กักตัวเองอยู่ที่บ้าน และตั้งรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา คอนโดมิเนียมที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ มีผู้อยู่อาศัยหลายครอบครัว ยิ่งจำเป็นต้องปรับตัวและดูแลตัวเองกันมาก แอดมินจึงมี 5 ข้อแนะนำป้องกันไวรัส Covid-19 สำหรับคนอยู่คอนโด ดังนี้

1. งดใช้มือสัมผัสลิฟต์โดยสาร หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยกด
การใช้ลิฟต์โดยสารภายในคอนโดในสถานการณ์เฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิดในปัจจุบัน มีเทคนิคแนะนำง่ายๆ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วดกดเปิด-ปิด ลิฟต์แทนการใช้มือสัมผัสโดยตรง เช่น ใช้ซองใส่คีย์การ์ดเข้าอาคาร หรือซองใส่บัตรพนักงานกดลิฟต์แทน ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป หรือใช้ข้อศอกและหลังมือในการกดแทนเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโดยตรง และเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตลอดเวลาที่อยู่ในลิฟต์โดยสาร ควรหันหน้าเข้ากำแพงจนกว่าจะออกจากลิฟต์ไป นอกจากนี้นิติบุคคลอาคารชุดปัจจุบันเริ่มมีมาตรการป้องกันไวรัสโควิด ด้วยการให้แม่บ้านประจำอาคารหมั่นเช็ดทำความสะอาดแป้นกด และห้องลิฟต์โดยสารทุกๆชั่วโมงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อีกด้วย ดูน้อยลง

2. หมั่นทำความสะอาดลูกบิดประตู หรืออุปกรณ์สัมผัสอื่นๆตลอดเวลา
มือจับหรือลูกบิดประตู คือจุดอันตรายจากเชื้อโรคอีกจุดหนึ่งที่มักถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นจุดที่ถูกสัมผัสอยู่ตลอดเวลา จึงมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากที่สุดแห่งหนึ่ง วิธีการทำความสะอาด คือ เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ และอย่าลืมทำความสะอาดพื้นที่ที่สัมผัสบ่อยๆ เช่น สวิตช์ไฟ รีโมททีวี หรือรีโมทเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดูน้อยลง

3. สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อเดินทางออกจากห้องพัก
ถ้าจำเป็นต้องออกงาน หรือไปเจอคนเยอะๆ ให้สวมหน้ากากอนามัย คนไม่ป่วยสวมหน้ากากผ้าได้ ส่วนคนป่วยสวมหน้ากากทางการแพทย์ ดูน้อยลง

4. งดกิจกรรม หรือออกกำลังกายในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆของคอนโด
งดกิจกรรม หรือออกกำลังกายในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆของคอนโด เช่น งดการว่ายน้ำในสระ งดการออกกำลังกายในฟิตเนส งดการใช้งานห้องสมุด หรือห้องอเนกประสงค์ร่วมกับผู้อื่น เน้นการออกกำลังกายเบาๆภายในห้อง ดูน้อยลง

5. หมั่นทำความสะอาดบริเวณห้องพัก พื้นห้อง ห้องน้ำ และเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ สำหรับจุดที่ต้องสัมผัสเยอะๆ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ใกล้ตัว โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ และคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ดูน้อยลง

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT#BetterlivingBetterSolution#Covid19

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่