5 ข้อป้องกัน ไวรัสโควิด สำหรับคนอยู่คอนโด

สถานการณ์ Covid-19 ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะระบาดในวงกว้างมากขึ้น เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้โดยเร็ว ผู้คนเริ่มหันมาดูแลตัวเอง กักตัวเองอยู่ที่บ้าน และตั้งรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา คอนโดมิเนียมที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ มีผู้อยู่อาศัยหลายครอบครัว ยิ่งจำเป็นต้องปรับตัวและดูแลตัวเองกันมาก แอดมินจึงมี 5 ข้อแนะนำป้องกันไวรัส Covid-19 สำหรับคนอยู่คอนโด ดังนี้

1. งดใช้มือสัมผัสลิฟต์โดยสาร หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยกด
การใช้ลิฟต์โดยสารภายในคอนโดในสถานการณ์เฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิดในปัจจุบัน มีเทคนิคแนะนำง่ายๆ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วดกดเปิด-ปิด ลิฟต์แทนการใช้มือสัมผัสโดยตรง เช่น ใช้ซองใส่คีย์การ์ดเข้าอาคาร หรือซองใส่บัตรพนักงานกดลิฟต์แทน ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป หรือใช้ข้อศอกและหลังมือในการกดแทนเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโดยตรง และเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตลอดเวลาที่อยู่ในลิฟต์โดยสาร ควรหันหน้าเข้ากำแพงจนกว่าจะออกจากลิฟต์ไป นอกจากนี้นิติบุคคลอาคารชุดปัจจุบันเริ่มมีมาตรการป้องกันไวรัสโควิด ด้วยการให้แม่บ้านประจำอาคารหมั่นเช็ดทำความสะอาดแป้นกด และห้องลิฟต์โดยสารทุกๆชั่วโมงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อีกด้วย ดูน้อยลง

2. หมั่นทำความสะอาดลูกบิดประตู หรืออุปกรณ์สัมผัสอื่นๆตลอดเวลา
มือจับหรือลูกบิดประตู คือจุดอันตรายจากเชื้อโรคอีกจุดหนึ่งที่มักถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นจุดที่ถูกสัมผัสอยู่ตลอดเวลา จึงมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากที่สุดแห่งหนึ่ง วิธีการทำความสะอาด คือ เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ และอย่าลืมทำความสะอาดพื้นที่ที่สัมผัสบ่อยๆ เช่น สวิตช์ไฟ รีโมททีวี หรือรีโมทเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดูน้อยลง

3. สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อเดินทางออกจากห้องพัก
ถ้าจำเป็นต้องออกงาน หรือไปเจอคนเยอะๆ ให้สวมหน้ากากอนามัย คนไม่ป่วยสวมหน้ากากผ้าได้ ส่วนคนป่วยสวมหน้ากากทางการแพทย์ ดูน้อยลง

4. งดกิจกรรม หรือออกกำลังกายในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆของคอนโด
งดกิจกรรม หรือออกกำลังกายในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆของคอนโด เช่น งดการว่ายน้ำในสระ งดการออกกำลังกายในฟิตเนส งดการใช้งานห้องสมุด หรือห้องอเนกประสงค์ร่วมกับผู้อื่น เน้นการออกกำลังกายเบาๆภายในห้อง ดูน้อยลง

5. หมั่นทำความสะอาดบริเวณห้องพัก พื้นห้อง ห้องน้ำ และเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ สำหรับจุดที่ต้องสัมผัสเยอะๆ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ใกล้ตัว โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ และคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ดูน้อยลง

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT#BetterlivingBetterSolution#Covid19

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่

พ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากฉบับเก่า?

ในข้อกำหนดกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับใหม่ มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากฉบับเก่า?
จากที่เดิมที พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับเก่าก็คือ พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขจนมีฉบับใหม่ล่าสุด คือ พ.ร.บ.อาคารชุด(ฉบับที่ 4) มีผลบังคับใช้เมื่อ 4 ก.ค.2551 ด้วยเหตุผลที่ว่า พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ได้ใช้มานานมากแล้ว ทำให้ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง และไม่สามารถคุ้มครองผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ จึงได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติ และมีข้อกำหนดบางตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพอมาถึงปี 2560 นี้ก็นับว่าล่วงเลยมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ ที่ยังไม่รู้และที่ยังขาดความเข้าใจก็ยังคงมีอยู่มากเช่นกัน มาดูว่าในข้อกำหนด พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

สรุปที่เป็นสาระสำคัญบางประการของพระราชบัญญัติ อาคารชุด(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

1. การเพิ่มบทนิยาม
1.1 “การประชุมใหญ่” หมายความว่า การประชุมใหญ่สามัญหรือการประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมแล้วแต่กรณี

1.2 “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

1.3 “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
1.4 “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด

2. การจดทะเบียนอาคารชุด
ในทางกฎหมายพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ได้ระบุให้มีหลักฐานและรายละเอียดเพิ่มเติมในการยื่นเอกสารการจดทะเบียนอาคารชุด ดังนี้

2.1 แผนผังอาคารชุด โดยขอให้ระบุรวมถึงเส้นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย เพราะป้องกันปัญหาจากที่เคยมีอาคารชุดหรือคอนโดในหลายๆ โครงการที่มีการเอาที่ดินของผู้อื่นมาทำเป็นทางเข้าออก ดังนั้นต้องรวมในแผนผังด้วย

2.2 กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทั้งที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ จำนวนพื้นที่ และลักษณะการใช้ประโยชน์ เป็นต้น

2.3 การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุด กำหนดให้เอกสาร ข้อมูลหรือภาพใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการโฆษณาขายห้องชุด ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วยและให้เก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง เพราะหลังจากคอนโดก่อสร้างแล้วเสร็จมักจะไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ จึงให้ตีความไปในทางที่เป็นประโยชน์กับทางผู้ซื้อเป็นหลัก

2.4 การทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายห้องชุด ระหว่างทางโครงการกับผู้ซื้อห้องชุดนั้น ต้องทำตามแบบสัญญามาตรฐาน แต่ถ้าในสัญญาไม่เป็นไปทำตามแบบสัญญาและไม่เป็นคุณต่อผู้ซื้อ สัญญาส่วนนั้นถือเป็นโมฆะ

3. เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ห้องชุด
จากพ.ร.บ.เก่าปี 2522 กรรมสิทธิ์ในส่วนของเนื้อที่ส่วนกลางหรือทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วม ได้ระบุว่าเป็นไปตามอัตราส่วนของราคาห้องชุด ซึ่งแลดูจะมีปัญหาเพราะราคามีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นั้นให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างเนื้อที่ของห้องชุดตามที่ขอจดทะเบียนไว้ ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ หรือระบบต่างๆ ในอาคารว่าส่วนไหนใช่หรือไม่ใช่พื้นที่ส่วนกลางนั้น จึงได้กำหนดไว้ คือ

3.1 การตั้งสำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุด ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนกลางและจะต้องอยู่ภายในอาคารชุดเท่านั้น

3.2 สิ่งก่อสร้างหรืองานระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น การจัดแสงสว่าง การปรับอากาศ การระบายน้ำ หรือการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล เป็นต้น

3.3 กรณีที่มีการจัดพื้นที่ของอาคารชุดเพื่อประกอบการค้า ต้องจัดระบบการเข้าออกในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะไม่ให้รบกวนเจ้าของร่วม

3.4 เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย ทั้งค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากสิ่งของที่ใช้ประโยชน์เป็นส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษา ซ่อมแซม ร่วมกันจ่ายตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์

3.5 กรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชําระเงินภายในเวลาที่กําหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกิน 12% ต่อปี หากค้างชำระเกิน 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มในอัตราไม่เกิน 20% ต่อปี และอาจถูกตัดสิทธิ์จากการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ด้วย

3.6 บุคคลต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมด และในอนาคตแม้จะมีเจ้าของห้องชุดที่มีการเปลี่ยนสัญชาติหรือจากผู้ที่ได้รับโอนในฐานะที่เป็นทายาทมรดกเป็นคนต่างด้าว แต่การมีกรรมสิทธิ์นั้นยังเกิน 49% ต้องจำหน่ายในส่วนที่เกินนั้นภายใน 1 ปี นับจากวันที่เสียสัญชาติไทย

4. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอาคารชุด
สำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้คราวที่สุดจากนิติบุคคลอาคารชุด โดยทางผู้จัดการต้องออกให้เจ้าของร่วมภายใน 15 วัน ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่ได้มีการกำหนดเวลา ทำให้เจ้าของร่วมไม่สะดวกและก่อให้เกิดความล่าช้า

4.1 เกี่ยวกับข้อบังคับอาคารชุด สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนอาคารชุดไว้ได้ แต่ต้องเป็นไปโดยมติของที่ประชุมใหญ่ ต้องนําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน

4.2 กำหนดคุณสมบัติกรรมการนิติอาคารชุด การเพิ่มเติมในส่วนนี้เนื่องจากในทางปฏิบัติ เจ้าของโครงการมักส่งตัวแทนของตนเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด แล้วอาศัยช่องทางนี้เอาเปรียบลูกบ้าน เช่น ทำให้เจ้าของอาคารชุดไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางสำหรับห้องชุดที่ยังขายไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งนอกจากกำหนดคุณสมบัติแล้ว ยังกำหนดของการพ้นตำแหน่ง และระบุอำนาจหน้าที่เพิ่มในเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและให้มีการติดประกาศเพื่อทราบ และต้องฟ้องบังคับชําระหนี้จากเจ้าของร่วมที่ค้างชําระค่าใช้จ่าย เกิน 6 เดือนขึ้นไปด้วย

5. กำหนดให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดให้ชัดเจนขึ้น
ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 2 ปี และจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และต้องนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับจากวันประชุมใหญ่ ซึ่งเหตุผลในการกำหนดและเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของผู้จัดการอาคารชุดขึ้นมานั้น สืบเนื่องจากในทางปฏิบัติ เจ้าของโครงการมักส่งตัวแทนของตนเป็นกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดแล้วใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบผู้พักอาศัยนั่นเอง

6. กำหนดคุณสมบัติ และคุณลักษณะของกรรมการนิติบุคคล
6.1 ต้องเป็นเจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นตัวแทนของนิติบุคคลจำนวนหนึ่งคน ในกรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม

6.2 กรรมการพ้นจากตําแหน่งเมื่อตาย ลาออก เป็นบุคคลมีลักษณะต้องห้ามที่ประชุมใหญ่มีมติให้พ้นจากตําแหน่ง

6.3 ในการประชุมให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม หรือในกรณีที่กรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร้องขอให้เรียกประชุม และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานมีสิทธิ์เพิ่มอีกเสียงเพื่อชี้ขาด

7. เกี่ยวกับคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด
7.1 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุล อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกรอบ 12 เดือน ต้องมีรายการแสดงจํานวนสินทรัพย์และหนี้สิน บัญชีรายรับรายจ่าย และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนําเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่

7.2 ต้องจัดทํารายงานประจําปีแสดงผลการดําเนินงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล และส่งสําเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วม ก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

7.3 เก็บรักษารายงานประจําปีแสดงผลการดําเนินงานและงบดุล พร้อมทั้งข้อบังคับไว้ที่สํานักงานของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้

8. เกี่ยวกับการจัดให้มีการประชุมใหญ่
การเพิ่มเติมบทบัญญัตินี้ก็เพื่อลดช่องว่างในการที่ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะเข้าดำเนินกิจการต่างๆ โดยพลการ และจากเดิมการประชุมต้องเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนเสียง ทำให้จัดการประชุมได้ยาก จึงได้กำหนดการประชุมดังนี้

8.1 การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก – ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับและผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้

8.2 การประชุมใหญ่สามัญ – จัดให้มีปีละ 1 ครั้งภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล รายงานประจําปี แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และพิจารณาเรื่องอื่นๆ ซึ่งการเรียกประชุมใหญ่ต้องทำหนังสือนัด อย่างน้อย 7 วันก่อนประชุม และในการประชุมต้องมีการลงคะแนนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

8.3 ประชุมใหญ่วิสามัญ – ในกรณีมีเหตุจําเป็นผู้ที่มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ คือ ผู้จัดการ, คณะกรรมการโดยมติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุม หรือเจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 20% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อ

9. บทบัญญัติเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

9.1 มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคําชี้แจงข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งหลักฐานใดเพื่อประกอบการพิจารณาหรือตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

9.2 เข้าไปในที่ดินและอาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด หรือสถานที่ที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด เพื่อ ตรวจดูเอกสารหรือหลักฐาน ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาหรือตรวจสอบการปฏิบัติการ

9.3 อายัดเอกสาร บัญชี ทะเบียน หรือหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและดําเนินคดี

10. เกี่ยวกับบทกำหนดโทษ
ได้มีการเพิ่มบทบัญญัติถึงการกำหนดโทษ กรณีที่มีผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีการระวางโทษและปรับเงินในอัตราต่างๆ ตั้งแต่มาตรา 63 ถึงมาตรา 73 ตามพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่ 2551 นี้ เช่น หากสัญญาซื้อขายไม่ได้ตามแบบมาตรฐานจะปรับในอัตราไม่เกินหนึ่งแสนบาท เป็นต้น

ประโยชน์จาก พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับใหม่
มาในปัจจุบันจากที่ได้ทราบกันอยู่บ้างว่า กฎหมาย พ.ร.บ. อาคารชุดฉบับใหม่ นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมายคอนโดใหม่คุ้มครองผู้บริโภคหรือลูกบ้านเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในมุมของดีเวลลอปเปอร์จะมีข้อแย้งบางจุดในข้อกำหนด โดยอ้างว่ามีการเร่งผลักดันกฎหมายคอนโดออกมาใช้ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จนมีการทักท้วงว่าเป็นข้อผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหาและเห็นว่าไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติจริง ซึ่งความจริงแล้วกฎหมายคอนโดฉบับใหม่ได้ปรับปรุงมาเพื่อให้เหมาะกับการปฏิบัติจริงอยู่แล้วและยังเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ลูกบ้านด้วย ฉะนั้นในส่วนของเจ้าของโครงการก็ต้องเคารพกฎกติกา นิติบุคคลอาคารชุดต้องดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายคอนโดดังกล่าวด้วย และเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ลูกบ้านก็ควรพัฒนาหาความรู้ให้เท่าทัน จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาให้หนักใจในภายหลัง

ข้อมูลจาก https://www.estopolis.com/article/knowledge/law
“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”
เลือก IRMNEXT
——————————————
รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ
Call center : 022041077/086-331-2054
Website : www.irm.co.th
ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7
#IRMNEXT
#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่ 

11คุณ และคนอื่นๆ อีก 10 คนแชร์ 3 ครั้งถูกใจแสดงความคิดเห็นแชร์

วิธีรับมือกับโควิด 19 ในแบบฉบับของ IRMNEXT !!

          ต้องยอมรับว่า โควิด 19 ตั้งแต่สิ้นปี จนมาถึงปัจจุบัน เราได้พบปัญหาการติดเชื้อจากภายในประเทศที่สูงขึ้น ซึ่งโควิด 19 ในระลอกที่ 3 เป็นการแพร่เชื้อที่ค่อนข้างเร็ว หลายพื้นที่ในประเทศกลายเป็นจุดเสี่ยงสีแดง และในระลอกนี้เป็นการกระจายเชื้อแบบคลัสเตอร์ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวันพุ่งสูงตามไปด้วย

      อย่างไรก็ตาม IRMNEXT ได้คำนึงถึงปัญหานี้ และเราใส่ใจ ในการที่จะดูแลผู้ที่อยู่อาศัย ตามโครงการต่างๆในเครืออย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น การฉีดพ่นฆ่าเชื้อในจุดต่างๆ ภายใน ลิฟต์ หรือ บริเวณส่วนกลางที่มักจะมีผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมาก และเรายังใส่ใจในการทำความสะอาดจุดต่างๆของแต่ละโครงการ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย สามารถปลอดภัยจากเชื้อ และสามารถวางใจที่จะใช้บริการในส่วนต่างๆได้อย่างสบายใจ โดย IRMNEXT ได้ยึดถือตามคอนเซป #BetterlivingBetterSolution  โดยภายใต้การดูแลด้วยทีมงานมืออาชีพ ของ IRMNEXT ซึ่งจะดูแลความสะอาดให้พื้นที่ส่วนกลางให้ดูน่าใช้อยู่เสมอ , ทำความสะอาดเครื่องเด็กเล่น , ขัดล้างห้องพักขยะ เพื่อสุขอนามัยที่ดีต่อผู้พักอาศัยในโครงการ , การดูแลพัสดุที่ปลอดเชื้อ , จุดควบคุมเพื่อตรวจอุณหภูมิผู้เข้าอาศัย , ติดตั้งเจลแอลกอฮอลฆ่าเชื้อในจุดต่างๆที่ มีการสัมผัสบ่อยอย่างทั่วถึง , จำกัดจำนวนคนในการเข้าใช้พื้นที่ส่วนกลาง , ทำความสะอาดในจุดเสี่ยงทุก 2 ชั่วโมง และ IRMNEXT ได้เพิ่มช่องทางการติดต่อกรณีฉุกเฉินเพื่อดูแลผู้พักอาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      “จะเจอปัญหาโควิดอีกกี่ครั้งทีมงาน IRMNEXT ก็ไม่หวั่น ไม่ว่าจะคลัสเตอร์ไหน เราก็พร้อมรับมือ”

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT

#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด #บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร #บ้านโครงการใหม่

#COVID19

พ.ร.บ. จัดสรรใหม่ คุ้มครองผู้บริโภค หรือ ผู้ประกอบการ!!

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามฮอตฮิต ที่หลายๆท่านเข้ามาปรึกษาเราเกี่ยวกับเรื่องการแก้ พ.ร.บ.จัดสรร โดยเฉพาะเรื่องโฉนดที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภค หรือโฉนดที่ดินที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทำให้เกิดความชัดเจน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับผู้พัฒนาบ้านจัดสรรที่มักสร้างความเข้าใจผิดแก่ลูกค้า

….การเปลี่ยนแปลงกฎหมายดังกล่าว จะทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารทรัพย์สินมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีคนกลางเข้ามาตรวจโอนสาธารณูปโภค เมื่อมีคณะกรรมการจากภาครัฐเข้ามาทำหน้าที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ผู้บริหารทรัพย์สินจะต้องชี้แจงให้ผู้อยู่อาศัยทราบว่าหากส่วนกลางตกไปเป็นของสาธารณะแล้วจะเกิดผลกระทบทางด้านใดบ้าง เช่น ทำให้มูลค่าโครงการลดลงเนื่องจากความเสื่อมโทรมของโครงการ ดังนั้น จะต้องให้ความรู้แก่ผู้อยู่อาศัย” นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กล่าว

..โดยสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องต่อผู้ซื้อบ้านจัดสรร และผู้ประกอบการนั้น คือ เรื่องโฉนดที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภค หรือโฉนดที่ดินที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะ เช่น สนามหญ้า ทางเดิน สระว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้จดแจ้งไว้หลังโฉนดว่าเป็นที่ดินส่วนกลางสำหรับสาธารณะ ซึ่งอาจถูกนำไปโอนให้แก่บุคคลอื่นได้ จึงมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค โดยระบุไว้หลังโฉนดว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินไม่สามารถโอนได้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการนำเอาที่ดินส่วนกลางดังกล่าวไปทำอย่างอื่น หรือโอนให้บุคคลอื่น นอกจากเป็นการโอนที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรร หรือตามกฎหมายเวนคืนที่ดิน

..นอกจากนี้แล้ว ยังมีการแก้ไขเรื่องการโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลบ้านจัดสรร เดิม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินปี 2543 ระบุว่า เมื่อผู้ประกอบการสร้างสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อย และดูแลครบ 1 ปี ให้ผู้ซื้อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร และทำการโอนสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคล โดยจะต้องมีการซ่อมแซมให้เกิดความสมบูรณ์ ที่ผ่านมา จึงมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น และไม่สามารถโอนได้ กฎหมายฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงว่าเมื่อจัดตั้งนิติบุคคลแล้วสามารถโอนสาธารณูปโภคได้เลย โดยจะมีคณะกรรมการกลางจากภาครัฐเป็นผู้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสาธารณูปโภคก่อนส่งมอบให้แก่นิติบุคคล แต่หากไม่สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ หรือมีองค์ประชุมไม่ครบ หรือมีมติไม่จัดตั้งนิติบุคคล หากครบ 180 วันแล้ว ผู้ประกอบการสามารถโอนสาธารณูปโภคให้แก่เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทันที

..นายธนันทร์เอก กล่าวต่อว่า การแก้ไข พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินในครั้งนี้ ทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองของกฎหมาย โดยในส่วนของผู้บริโภคนั้นสามารถมั่นใจได้ว่าพื้นที่ส่วนกลางจะไม่ถูกนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นโดยผู้ประกอบการ และเรื่องการโอนสาธารณูปโภคโดยอัตโนมัติหลังจากได้จดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรนั้นจะมีการตรวจเรื่องความสมบูรณ์โดยคณะกรรมการกลางจากกรมที่ดิน ทำให้ลดความขัดแย้งระหว่างทั้งผู้ซื้อ และผู้ประกอบการได้ที่สำคัญหากโครงการใดไม่จดทะเบียนนิติบุคคล

..อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อต้องทราบว่าที่ดินส่วนกลางจะตกเป็นของสาธารณะที่อยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลไม่ใช่ของนิติบุคคลอีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในโครงการ เช่น เรื่องความปลอดภัย ความสงบ การดูแลอื่นๆ ฯลฯ เนื่องจากใครก็สามารถเข้ามาในโครงการได้ ดังนั้น จะต้องตระหนัก และวิเคราะห์อย่างละเอียดในเรื่องนี้ ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่เคยประสบปัญหาเรื่องผู้อยู่อาศัยไม่ยอมรับสาธารณูปโภค

เนื่องจากมีข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผลทำให้ผู้จัดสรรต้องดูแลพื้นที่ส่วนกลางตลอดไปก็จะไม่เกิดขึ้นอีก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงกฎหมายในครั้งนี้จะคุ้มครองทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่

ข้อควรรู้ ก่อน ซื้อคอนโด!!

ที่อยู่อาศัยประเภท “คอนโด มิเนียม” ปัจจุบันได้รับความนิยมสำหรับคนกรุงเทพฯ เนื่องจากสามารถตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดอาคารใหม่ๆ โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าจำนวนมาก แต่ทว่าคอนโดเกิดใหม่เหล่านี้มีทั้งที่ขายได้หมดและขายได้เพียงบางส่วน เช่น ขายได้เพียง 20% และอีก 80% เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ

..การขายไม่หมดอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่อาจทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ หากไม่ทราบว่าต้องรู้อะไรบ้างเมื่อตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริการจัดการภายในอาคาร

..สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมจะต้องเตรียมก็คือ เงินกองทุน ซึ่งกฎหมายระบุว่าเงินกองทุนมีไว้เพื่อซ่อมแซมส่วนกลาง โดยเฉพาะการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ลิฟต์โดยสาร หรือการทาสีใหม่ทั้งอาคาร เงินกองทุนนี้จะเก็บประมาณ 10 เท่าของค่าส่วนกลาง เช่น หากต้องจ่ายค่าส่วนกลางในอัตรา 50 บาท/ตารางเมตร (ตร.ม.) ผู้อยู่อาศัยจะต้องจ่ายค่ากองทุน 500 บาท/ตร.ม. ซึ่งต้องจ่ายนอกเหนือจากราคาห้องที่ซื้อ เช่น ซื้อคอนโดขนาด 40 ตารางเมตร จะต้องจ่ายค่ากองทุนจำนวน 2 หมื่นบาท (40×500) ผู้ซื้อคอนโดจะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไว้โดยทางผู้ขายจะชี้แจงเรื่องนี้อยู่แล้ว ส่วนเงินกองทุนจะจ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว

..นอกจากนี้ ยังต้องมีค่าส่วนกลางซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายและค่าบริการต่างๆ ประจำเดือน เช่น เงินเดือนพนักงาน แม่บ้าน ธุรการ รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาส่วนกลางของอาคาร ปกติแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมีการเก็บล่วงหน้า 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละอาคาร สำหรับค่าส่วนกลางนั้นคำนวณจากพื้นที่ห้องแล้วคูณด้วยอัตราค่าจัดเก็บ เช่น พื้นที่ 40 ตร.ม. ค่าส่วนกลาง ตร.ม.ละ 50 บาท (40x50x12= 2.4 หมื่นบาท)

..ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดเก็บค่าส่วนกลางที่ผ่านมา คือ ไม่สามารถเก็บจากห้องที่ยังไม่ได้ขายได้ซึ่งอาจมีมากถึง 80% ของจำนวนห้องทั้งหมด ตามกฎหมายระบุว่า หลังจากที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ห้องที่ยังขายไม่หมดผู้ประกอบการในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบค่าส่วนกลาง แต่ส่วนใหญ่มักบ่ายเบี่ยงหรือมีการอนุโลมขอจ่ายเป็นรายเดือนได้ 1 ปี หลังจากนั้นจะต้องจ่ายทั้งหมดเข้าบัญชีของนิติบุคคล หรือให้นิติบุคคลคิดเบี้ยปรับการชำระค่าส่วนกลางล่าช้า..ปัญหานี้ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลทำให้เสียเปรียบ และเสียโอกาสที่จะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคาร เนื่องจากช่วงแรกผู้ประกอบการมักใช้บริษัทในเครือทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินของอาคาร ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้เสียสิทธิในการอยู่อาศัยในอาคารชุด.

โดย…ธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการฯ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ (IRM).

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่

หากเกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดฯ ใครจะต้องผิดชอบ?

หากเกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดฯใครจะรับผิดชอบ?

IRMNEXT เผยนิติบุคคลต้องมีหน้าและความรับผิดชอบนิติบุคคลบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ยืนยันต้องมีหน้าที่ในการบำรุงและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งชดใช้และเยียวยาค่าเสียหายที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนกลาง

..ที่ผ่านมามีเหตุการณ์คัดแย้งระหว่างเจ้าของร่วมหรือผู้อยู่อาศัยกับนิติบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพราะในอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรนั้นมีลูกบ้านอยู่จำนวนมาก ทั้งปัญหาเรื่องความพึงพอใจด้านต่าง ๆ และปัญหาเรื่องความปลอดภัย ซึ่งมีทั้งเรื่องเล็กน้อยที่ตกลงกันเองได้และเป็นเรื่องใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากสังคม เนื่องจากความไม่รับผิดชอบและการตกลงกันไม่ได้ของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าใครจะรับผิดชอบหากเกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากทรัพย์สินในโครงการ

..ตัวอย่างเช่น ผู้อยู่อาศัยในโครงการขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วโดนไม้กระดกชนหัวบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน ผู้ประสบอุบัติเหตุครั้งนี้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลายคนคงอยากรู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ในฐานะที่ค่ำหวอดอยู่ในหน้าที่การบริหารทรัพย์สินคิดว่าเรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากทรัพย์สินของหมู่บ้าน ซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ที่มีหน้าที่และรับผิดชอบในการบำรุงและซ่อมแซม เนื่องจากได้เก็บค่าส่วนกลางจากเจ้าของร่วมไปแล้ว ดังนั้น หากเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือข้อบกพร่องของทรัพย์สินส่วนกลาง นิติบุคคลจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบและรับผิดชอบค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของทรัพย์สินส่วนกลาง

..อย่างไรก็ตาม เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เมื่อเกิดปัญหาแล้วจะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่า เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือเกิดจากความเสื่อมและชำรุดของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณาถึงเรื่องความประมาทเลินเล่อของแต่ละบุคคลด้วย

ดังนั้น การใช้ชีวิตประจำวันในหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เจ้าของร่วมจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสอดส่องดูแลเพื่อเป็นหูเป็นตาว่าอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดหรือมีปัญหาในการใช้งานจะต้องแจ้งกับนิติบุคคลเพื่อแก้ไขทันที เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ขึ้น อย่าไปคิดว่าเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลเท่านั้น เนื่องจากพนักงานในโครงการอาจไม่รู้ว่าอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดบ้างที่มีปัญหา

.ทั้งนี้ IRMNEXT มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 27 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล

สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

9 บทบาทหน้าที่พื้นฐานของผู้บริหารทรัพย์สิน

งานพื้นฐานสำหรับอาชีพที่ต้องไปดูแลบ้านและคอนโดนั้นมีอะไรบ้าง ?..

คำว่าบริหารทรัพย์สินนั้นเราหมายถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน คอนโด รีสอร์ท โรงแรม เทคนิคการบริหารทรัพย์สินนั้นเป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ คำว่าศาสตร์ คือ ต้องใช้ทั้งความรู้ด้านกฎหมาย ด้านบัญชี ต่างๆ คำว่าศิลป์ คือ ศิลปะ วาทศิลป์ หรือเทคนิคการบริหารผู้คนอย่างไรที่จะดูแลผู้คนในคอนโด และ บ้านจัดสรรว่าลูกบ้านจะอยู่ร่วมกันอย่างไรในกฎกติกาเดียวกันนั่นหมายความว่า ผู้ที่ทำอาชีพนี้ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์อย่างถ่องแท้ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ หากเราต้องเข้าไปบริหารโครงการซักโครงการนึง จะต้องมีอะไรบ้าง ?.

1.เราควรจะรู้ว่าเจ้าของโครงการเป็นใคร

– เพราะอย่างน้อยเราจะรู้ว่าที่มาที่ไปของโครงการนี้เป็นอย่างไร มีความต้องการบริการหลังการขายอย่างไร ?

2.ประสบการณ์ของเจ้าของโครงการ ทำมากี่โครงการ ? กลุ่มลูกค้าเป็นอย่างไร ?

– ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราประเมินข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น และสามารถหาคนที่เหมาะสมกับพื้นที่ได้

3.แนวคิดของโครงการ

– มีแนวคิดอย่างไร มีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือเจ้าของร่วมหรือไม่อย่างไร เพราะแนวคิดที่ไม่ตรงกันจะทำให้ทีมบริหารทรัพย์สินทำงานลำบากมากขึ้น

4.เจ้าของโครงการ ให้ความสำคัญกับทีมบริหารทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน ?

– แต่ละที่ แต่ละโครงการ มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน บางที่อยากทำเอง บางที่มีความต้องการจ้างมืออาชีพมาทำ

5.Database ทั้งหมดของโครงการ

– ไม่ว่าจะเป็น จำนวน ยูนิต ค่าส่วนกลาง ค่ากองทุน แบบห้องต่างๆ ราคาซื้อขาย เป็นข้อมูลที่บริษัทบริหารมักมองข้าม

6.การคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม กับโครงการนั้นๆ

– ในแต่ละพื้นที่ หรือ แต่ละโครงการนั้น มีความต้องการเฉพาะทางของบุคลากรที่จะต้องเข้าไปทำงานไม่เหมือนกัน

ดังนั้น การเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของร่วม หรือกรรมการในคอนโดหรือหมู่บ้าน จะส่งผลให้เราเลือกคนได้เหมาะสมกับสถานที่ยิ่งขึ้น

7.มีโปรแกรมเข้ามาช่วยบริหารจัดการ ทั้งหลังบ้านและหน้าบ้าน

– การมีโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการจะช่วยให้เจ้าของร่วมมีความสะดวกสบาย ใช้งานง่ายและรวดเร็วมากขึ้น เกิดการทุจริตได้ยากขึ้น และยังช่วยให้ทีมบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม

8.มีทีม Start up มืออาชีพ

– มีทีม Start up มีความสำคัญมาก ทั้งในเรื่องการรับมอบงานต่างๆ การ Training บุคลากร ทั้งด้านการบริการ และ ข้อมูลเบื้องต้นนั้น จะต้องมีความใส่ใจ และลงรายละเอียดทั้งด้าน Database เจ้าของร่วม ด้าน บัญชีการเงิน ด้าน ระบบวิศวกรรมต่างๆ

9.มีพื้นฐานรูปแบบการบริการที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว

– ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว งานหลักๆ ของเราคืองานบริการทั้งสิ้น การผ่านการอบรมด้านการบริการเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องของสภาพร่างกาย และจิตใจ จะต้องพร้อมรับมือกับลูกบ้านหลากหลายอารมณ์

ดังนั้นบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้ จะต้องผ่านการอบรมด้านการบริการมาอย่างน้อย 1-2 ครั้ง .

“ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด ด้วยทีมงานมืออาชีพ

Call center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT

#BetterlivingBetterSolution

#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่

แต่งบ้านอย่างไร? ให้เงินไหลมาเทมา

ถูกใจสายมูที่วางแพลนจะแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย จัดบ้านเรียกทรัพย์เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ค้าขาย ปังๆ การเงินการเงินดีเลิศ เสริมโชคลาภวาสนา และเงินทอง สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเพื่อการเรียกทรัพย์เข้าบ้านวันนี้ IRMNEXT นำวิธีจัดบ้านเรียกทรัพย์ตามหลัก ฮวงจุ้ยมาฝากกันค่ะ สำหรับวิธีที่ทุกที่ได้นำมาแนะนำกัน รู้อย่างนี้แล้ว ก็รีบไปทำตามกันนะคะ จะได้ เฮง เฮง เฮง รวยๆ กันทั่วหน้า

1.เลือกสีที่สื่อถึงความมั่งคั่งร่ำรวย
การเลือกโทนสีเพื่อแต่งบ้านเสริมความมั่งคั่งนั้นจะเน้นไปทางสีทองเป็นหลัก
.
เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์แห่งความหรูหราและมั่งคั่ง อีกทั้งยังเข้ากับเทรนด์สีที่กำลังมาในตอนนี้เลยทีเดียว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สีทองทาผนังบ้านให้เด่นชัดเสมอไป แค่เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์หรือของแต่งบ้านที่มีลวดลายสีทอง เช่น กระจกขอบทอง กรอบรูปสีทอง โคมไฟที่มีฐานสีทอง
.
แต่ถ้าใครไม่ถูกสเปคกับสีทองจริง ๆ ก็ไม่ต้องกังวลไป ให้ลองหันมาใช้สีม่วงโทนหรูหราแทนก็ได้ค่ะ

2.ทิศของบ้านที่เป็นมงคล
คนไทยส่วนใหญ่มักจะเลือกบ้านที่หันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
.
เพราะช่วงเช้าแสงแดดอ่อน จะทำให้บ้านไม่ร้อนนัก แต่ถ้าต้องการรับทรัพย์ ตามหลักฮวงจุ้ยแล้วควรหันไปทางทิศใต้ เพราะจะอยู่ในทิศทางลม ทำให้ลมพัดเข้ามาตลอดทั้งปี ซึ่งลมจะพัดเอาพลังงานดีเข้ามาในบ้าน ส่งผลให้เกิดการค้าขายเจริญรุ่งเรือง

3.ติดตั้งกระจกสะท้อนโชคลาภให้เข้ามาในบ้าน
กระจกเงาเป็นของตกแต่งอย่างหนึ่งที่นิยมนำมาแต่งบ้านอย่างแพร่หลาย เนื่องจากช่วยให้มุมมองของบ้านดูกว้างขวางขึ้น
.
อีกทั้งหลายคนเชื่อถือในศาสตร์ฮวงจุ้ยที่ว่ากระจกเงาจะสะท้อนสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากบ้านและสะท้อนสิ่งที่ดีเข้ามาในบ้านได้ รวมทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของพลังชี่ (ชี่ ก็คือ สภาพแวดล้อมโดยรวมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้อยู่อาศัย)

4.น้ำมงคลหมุนเวียนพลังงาน
บ้านที่มีสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำหน้าบ้าน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งติดหรือใกล้แม่น้ำคูคลองยิ่งดีเข้าไปอีก
.
แต่ถ้าหากคุณพักอาศัยอยู่ในคอนโดแนะนำให้ตกแต่งด้วยน้ำพุ ให้มีการเคลื่อนไหวของสายน้ำ จะช่วยให้ความร่มเย็นแก่บ้าน ทำให้รู้สึกสบายตาเวลาที่มอง
.
และตามหลักฮวงจุ้ยแล้วถือว่าส่งเสริมเรื่องความร่ำรวย สายน้ำจะนำพาโชคลาภ ความมั่งคั่ง ความเจริญมาแก่ผู้อยู่อาศัยด้วย

5.ประตูบ้านเสริมโชค
ตามหลักของประตูทางเข้าบ้านที่ดีนั้น
ไม่ควรตรงแนวเดียวกับประตูบานอื่นภายในบ้าน
.
รวมถึงประตูหน้าต่างบานใหญ่ อีกทั้งไม่ควรหันชนกับประตูตู้ ประตูห้องน้ำ และบันได อย่างต่ำ
ควรอยู่ห่างจากผนังและบันไดอย่างน้อย 2-3 ฟุต
.
สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ ประตูควรจะเป็นประตูที่เปิดเข้า ไม่ใช่เปิดออก เพราะการเปิดออกจะเป็นการผลักพลังงานออกจากบ้าน

6.สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมความเป็นสิริมงคล
เชื่อว่าทุกบ้านมักจะมีหิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาไว้ในบ้านเสมอ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาคนในบ้านและเพิ่มความเป็นสิริมงคล
.
และเชื่อถือกันการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าจะช่วยกวักเรียกเงิน เรียกทอง เรียกโชคลาภได้ ค้าขายร่ำรวย

7.บ้านโล่งรับพลังงานดี
สิ่งสำคัญที่ควรนึกถึงก่อนจัดบ้านตามหลัก ฮวงจุ้ยนั่นก็คือ พลังชี่ (Chi) เป็นพลังงานดีที่จะทำให้ชีวิตมีแต่เรื่องมงคล ดังนั้นเราจึงควรทำบ้านให้โล่งเข้าไว้ จัดเฟอร์นิเจอร์และข้าวของต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
.
.
เพื่อเปิดทางต้อนรับพลังงานที่ดีให้เข้ามาหมุนเวียนอยู่ภายในบ้าน และที่สำคัญต้องหมั่นทำความสะอาดบ้าน อย่าให้มีสิ่งสกปรกที่คอยเป็นอุปสรรคขวางกั้นให้ออกไปจากบ้านด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.tooktee.com

ทุกปัญหาที่อยู่อาศัยของคุณ..ให้เราดูแล”

เลือก IRMNEXT

——————————————

รับปรึกษางานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และคอนโด

ด้วยทีมงานมืออาชีพCall center : 022041077/086-331-2054

Website : www.irm.co.th

ที่ตั้งบริษัท : https://goo.gl/maps/hBRaxuSYT9wAbnKm7

#IRMNEXT#BetterlivingBetterSolution#บริษัทบริหารอาคารชุด#บริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร#บ้านโครงการใหม่

แก้ปัญหาคอนโด ขาดกรรมการ

วันนี้ IRMNEXT จะมาชี้แนวทางแก้ปัญหากรรมการคอนโดมเนียมลาออก ผู้จัดการนิติบุคคลและผู้อยู่อาศัยจะต้องดำเนินการอย่างไร?

อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) แนะแนวทางแก้ปัญหากรรมการอาคารชุดลาออก เผยจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารทรัพย์สินเมื่อเกิดสุญญากาศในคอนโดมิเนียม เผยบทบาทและหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลและเจ้าของร่วม สามารถแก้ไขได้ตามที่กฎหมายกำหนด

..ปัญหาเรื่องกรรมการอาคารชุดยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปกติแล้วแต่ละอาคารจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน ละไม่เกิน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งในการประชุมใหญ่ แต่เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างจึงทำให้กรรมการลาออกทั้งชุดก่อนที่จะหมดวาระ จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการในคอนโดมิเนียมแห่งนั้นทันที เนื่องจากบทบาทและหน้าที่ของกรรมการมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น การอนุมัติเช็คสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ประจำเดือน รวมทั้งพิจารณาจัดจ้างเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้จัดการนิติบุคคลนำเสนอฯลฯ แต่เมื่อเกิดปัญหาเรื่องกรรมการลาออกอาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอย่างแน่นอน..

“หากกรรมการลาออกทั้งหมดแล้วทำให้เกิดสุญญากาศในการบริหารจัดการ ดังนั้น จะต้องมีผู้ที่สามารถเรียกประชุมโครงการอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นตัวแทนของนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งได้ระบุว่าผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดสามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ หรือการเรียกประชุมฉุกเฉิน สาเหตุที่ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญนั้นเพราะต้องกำหนดวาระประชุมเลือกกรรมการขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยากนักผู้จัดการนิติบุคคลสามารถดำเนินการได้ทันทีและต้องทำอย่างเร่งด่วน

..อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องกรรมการลาออกจะบานปลายได้หากผู้จัดการนิติบุคคลไม่ทำอะไรเลย เมื่อโครงการใดมีปัญหาดังกล่าวแล้วผู้จัดการนิติบุคคลไม่ทำหน้าที่ของตนเอง กฎหมายอาคารชุดกำหนดว่าให้เจ้าของบ้านหรือเจ้าของร่วมที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมดังกล่าวรวมตัวกันไม่น้อยไปกว่า 25% ร้องขอให้ผู้จัดการนิติจัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่มาทำหน้าที่แทนชุดที่ลาออกไป โดยกำหนดวาระให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการเรื่องกรรมการ หากสามารถจัดประชุมได้ก็จะมีกรรมการมาทำหน้าที่ แต่ถ้าผู้จัดการนิติบุคคลไม่จัดประชุมตามที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ เนื่องจากบางโครงการก็มีผู้จัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังมีแนวทางแก้ไขเพราะ กฎหมายเปิดช่องว่างให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 25% สามารถจัดประชุมวิสามัญเพื่อเลือกตั้งกรรมการเองได้

..ที่ยากไปกว่านั้นก็คือหากคอนโดดังกล่าวมีปัญหาทั้งกรรมการและผู้จัดการนิติบุคคลลาออก เป็นเรื่องใหญ่มากเพราะจะไม่มีใครดำเนินการอนุมัติค่าใช้จ่ายรวมทั้งเรื่องการบริหารจัดการภายในโครงการ ทางออกเรื่องนี้คือลูกบ้านต้องรวมตัวกันเพื่อจัดประชุมกันเองได้ เนื่องจากกฎหมายได้ระบุให้ลูกบ้านสามารถจัดประชุมเองได้หากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นภายในโครงการ ทั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า หากกรรมการลาออกสามารถให้ผู้จัดการนิติจัดประชุม แต่ถ้าลาออกทั้งหมดลูกบ้านสามารถจัดประชุมเองได้.

ทั้งนี้ IRMNEXT มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 27 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล

สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th